วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

สิ่งที่ได้รับรู้จากการเรียนวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ (ครั้งที่ 2)

สิ่งที่ได้รับรู้จากการเรียนการสอน
วิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ (ครั้งที่ 2)
บทที่ 3 การสร้างระบบสารสนเทศทางการ
ศึกษา ความจำเป็นในการพัฒนา
ระบบสารสนเทศ
1. ความจำเป็นในการพัฒนาระบบ สามารถจำแนกได้ 3 ประเด็น ดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน
- การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
- การปรับองค์การและความได้เปรียบในการแข่งขัน
2. หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
- คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
- เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด
- กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
- กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
- ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
- เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิก
- แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
- ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต

ชนิดของระบบสารสนเทศและการพัฒนาระบบ
1. ระบบประมวลผลรายการ (Transation Processing Systems : TPS)
- เป็นระบบที่ใช้เพื่อการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางการค้า หรือรายการที่เปลี่ยน
แปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ กัน การพัฒนาระบบจึงมุ่งเน้นไปที่กระบวนการ เพื่อ
ประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงขององค์กรในขณะนั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการประมวลข้อมูลให้กับงานในองค์กร
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : TPS)
- เป็นระบบสารสนเทศที่ทำการคัดเลือกข้อมูลที่มีอยู่ใน TPS เพื่อนำมารวบรวมและ
จัดทำเสียใหม่ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ผู้บริหารแต่ละระดับต้องการ ดังนั้นผู้พัฒนา
ระบบ จึงต้องมีความเข้าใจอย่างดีว่าผู้บริหาร ต้องการสารสนเทศใดเพื่อใช้สำหรับการ
ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
3. ระบบสนันสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS)
- เป็นระบบสาระสนเทศที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
ในเรื่องต่าง ๆ ขององค์กร ดังนั้นผู้พัฒนาระบบ จึงมักใช้วิธีการสร้างระบบต้นแบบ เพื่อ
ให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้ และปรับปรุงระบบต้นแบบไปเรื่อย ๆ จนกว่าผู้ใช้จะจะพอใจ
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)
- เป็นระบบที่มีความแตกต่างอย่างมาก จากระบบสารสนเทศทั้ง 3 ชนิดข้างต้น เพราะ
ES เป็นระบบที่พยายามจะรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ใช้ หรือเป็นการอธิบายวิธี
การคิดที่ผู้เชี่ยวชาญใช้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ การพัฒนาระบบ จะมุ่งเน้นไปที่
การจัดหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะ

วงจรการพัฒนาระบบงานและวิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1. วงจรการพัฒนาระบบ
- เป็นระเบียบวิธีการพัฒนาระบบที่เป็นที่รู้จักกันดีในหลาย ๆ องค์กร วิธีการนี้มีคุณสมบัติ
เด่นคือการแบ่งกระบวนการทำงานออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ หลายขั้นตอน ซึ่งอาจจะมีขั้น
ตอนและลำดับของขั้นตอนบางขั้นตอนที่ถูกปรับเปลี่ยนไปเพื่อให้เหมาะสม บางครั้งการ
พัฒนาระบบอาจอยู่ในลักษณะของการวนซ้ำของกิจกรรมบางอย่าง
2. วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
- สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาและลักษณะงาน

กระบวนการและขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศในสถาบันการศึกษา มีกระบวนสำคัญ คือ
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- การตรวจสอบข้อมูล
- การประมวลผลข้อมูล
- การจัดระเบียบข้อมูลหรือหน่วยเก็บ
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- การนำข้อมูลไปใช้


บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา
1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- เป็นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ได้ด้วยตนเองผ่านคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้นำเสนอ ผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับ คอมพิวเตอร์ได้ โดยทั่วไป CAT สามารถนำเสนอเนื้อหาได้ 6 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบการสอนหรือแบบทบทวน
2. รูปแบบการฝึกหัด
3. รูปแบบสถานการณ์จำลอง
4. รูปแบบเกมพื่อการสอน
5. การทดสอบ
6. การสาธิต
2. มิลติมีเดีย
- เป็นการนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวันดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทะผลสูงสุดในการเรียนการสอน ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ ร่วมด้วย เพื่อการผลิตหรือ
การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูล ทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์และเสียง

3. วีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์
- เป็นระบบการสื่อสารสองทาง มีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ส่วน คือ เครือข่ายโทรคมนาคม และอุปกรณ์เชื่อมต่อ ที่ผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ด้วยสื่อเดียวกันตลอด เวลา และมักใช้กับการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม

4. ห้องสมุดเสมือน
- เป็นการทำงานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมผสมผสานกับ การจัดการข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ แต่มีข้อจำกัด คือ ต้องใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากและต้องมีโปรแกรมการสืบ ค้นที่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการบันทึกข้อมูลทุก รูปแบบ โดยมีลักษณะของข้อมูลที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย จึงต้องอาศัยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในการส่งข้อมูล หากระบบเครือข่ายประสบปัญหาก็จะไม่อาจสืบค้นข้อมูลได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น